วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ความจริงของชีวิต เรื่องของกรรม

การหยุดให้ผลของกรรม
กรรมจะหยุดให้ผลด้วยเหตุ 3 ประการ คือ
1.  หมดแรง คือ ให้ผลจนสมควรแก่เหตุแล้วเหมือนคนได้รับโทษจำคุก 2 ปี เมื่อถึงกำหนดแล้วเขาย่อมพ้นจากโทษนั้นนอกจากในระหว่าง2ปี ที่ถูกจองจำอยู่เขาจะทำความผิดซ้ำซากเข้าอีก ถ้าในระหว่างถูกจองจำอยู่เขาทำความดีมากอาจให้ลดโทษลงเรื่อย ๆ การให้ผลของกรรมก็ทำนองเดียวกัน โดยปรกติธรรมดามันจะให้ผลจนหมดแรง นอกจากเวลาที่กำลังให้ผลอยู่นั้นบุคคลผู้นั้นทำชั่วเพิ่มขึ้น มันก็จะให้ผลรุนแรงมากขึ้น ถ้าเขาทำความดีมากขึ้นผลชั่วก็จะเพลาลง ในขณะที่กรรมดีกำลังให้ผลถ้าเขาทำดีเพิ่มขึ้นผลดีก็จะมีกำลังมากขึ้น ถ้าเขาทำกรรมชั่วในขณะนั้นผลของกรรมดีก็จะเพลาลง
2.   กรรมจะหยุดให้ผล เมื่อกรรมอื่นเข้ามาแทรกแซงเป็นครั้งคราว คือกรรมดีจะหยุดให้ผลชั่วคราวเมื่อบุคคลทำกรรมชั่วแรง ๆ เพื่อเปิดโอกาสให้กรรมชั่วอันมีกำลังเชี่ยวกรากนั้นให้ผลก่อน ถ้าขณะที่กรรมชั่วกำลังให้ผลอยู่มันจะหยุดให้ผลชั่วคราว เมื่อบุคคลผู้นั้นทำกรรมดีแรง ๆ เพื่อเปิดโอกาสให้ผลกรรมดีให้ก่อน นี่หมายเฉพาะที่จำเป็นและเร่งด่วนเท่านั้น โดยปกติเมื่อกรรมอย่างหนึ่งให้ผลอยู่ กรรมอื่น ๆ ก็จะรอคอยเปรียบเหมือน เมื่อพระราชามีพระราชภารกิจบางอย่างอยู่หากมีราชกิจอย่างใดอย่างหนึ่งอันไม่รีบด่วนนัก ราชบุรุษหรืออำมาตย์มนตรีย่อมพักราชกิจนั้นไว้ก่อนจะนำความกราบบังคมทูลต่อเมื่อราชกิจที่ทรงอยู่ (เช่นทรงต้อนรับแขกเมืองอยู่) เสร็จไปแล้ว ถ้าหากเป็นราชกิจรีบด่วนจริง ๆ เป็นเรื่องสำคัญที่สุด ก็สามารถนำความกราบบังคมทูลได้ทันที การรับสั่งด้วยแขกเมืองก็ต้องหยุดไว้ก่อน
ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นการยากที่จะเข้าใจหรือเห็นกรรมและผลของกรรมโดยตลอดในช่วงชีวิตเดียวฉะนั้น เรื่องกรรมและสังสารวัฏจึงมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด เพื่อให้เข้าใจเรื่องกรรมโดยตลอดต้องพูดกันเรื่องสังสารวัฏ เมื่อมีสังสารวัฏคือการเวียนว่ายตายเกิดก็ต้องสาวไปหา กรรมดีกรรมชั่วในอดีต จึงจะสมบูรณ์
3. บุคคลผู้ทำกรรมได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์  ตัดวัฏฏะ คือ การเวียนว่ายตายเกิดเสียได้ มีชีวิตอยู่เป็นชาติสุดท้ายไม่เกิดในภพใหม่อีก กรรมย่อมหมดโอกาสให้ผลอีกต่อไปวิญญาณของท่านผู้นั้นบริสุทธิ์หมดเชื้อ เหมือนเมล็ดพืชที่สิ้นยางเหนียวแล้ว ปลูกไม่ขึ้นอีกต่อไปกรรมของพระองคุลิมาลเป็นอาทิ เมื่อท่านนิพพานแล้วกรรมต่าง ๆ ทั่งดีและชั่ว ไม่ว่ารุนแรงเพียงใดก็หมดโอกาสให้ผลเปรียบเหมือนบุคคลวิ่งหนีสุนัข สามารถว่ายน้ำข้ามไปฝั่งโน้นได้ แล้วเหลือวิสัยของสุนัขที่จะไล่ตามไปได้ เมื่อบุคคลผู้นั้นไม่กลับมาสู่ฝั่งนี้อีก สุนัขซึ่งเฝ้าคอยก็จะตายไปเอง
อนึ่งความไม่ควรแก่การเกิดอีกของบุคคลผู้มีคุณธรรมสูงสุด เพราะได้พัฒนาจิตอย่างดีที่สุดแล้วนั้นเปรียบเหมือนเมล็ดพืช  ซึ่งได้พัฒนาตัวมันเองอย่างดีที่สุดแล้ว เมล็ดลีบ เนื้อมาก เมล็ดพืชเช่นนั้นนำไปปลูกไม่ขึ้นอีกไม่ว่าได้ดินได้น้ำดีเพียงใด เป็นการสิ้นสุดแห่งการเวียนว่ายตายเกิดของเมล็ดพืชเช่นนั้น
กรรมไม่ดำไม่ขาว มีผลไม่ดำไม่ขาว คือ เจตนาที่จะละกรรมทั้งปวง ทั้งกรรมดา กรรมขาว และกรรมทั้งดำทั้งขาว กรรมเช่นนี้แหละย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม เช่น กรรมของพระอรหันต์
จุดมุ่งหมายของการเกิดใหม่
                การเกิดใหม่เป็นกระบวนการธรรมชาติอย่างหนึ่งของชีวิต เพื่อวิญญาณจักได้มีประสบการณ์ด้านต่าง ๆ ก่อนจะออกจากโลก เข้าสู่โลกุตตรภาวะและไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดในภพไหน ๆ อีกต่อไป
                โลกนี้เป็ฯเสมือนโรงเรียนใหญ่สำหรับวิญญาณจักได้ศึกษาหาประสบการณ์จนถึงที่สุด เมื่อเราได้เกิดซ้ำซากอยู่ชาติแล้วชาติเล่า ได้ผ่านความสุขบ้างทุกข์บ้างประสบความสำเร็จบ้าง ล้มเหลวบ้าง เป็นบทเรียนพอสมควรแล้ว เราก็จะไปใช้ชีวิตอยู่ในโลกทิพย์ชั่วระยะเวลาหนึ่งซึ่งมสภาวะต่าง ๆ แตกต่างจากโลกของเราเป็นอันมากวัญญาณของเราตื่นตัวมากขึ้น ความรู้สึกประทับใจในจริยธรรมมีมากขึ้น
                โรงเรียนโลกก็เหมือนกับโรงเรียนสามัญ คือ โรงเรียนสามัญนั้นนักเรียนจะต้องมาโรงเรียนวันแล้ววันเล่าเดือนแล้วเดือนเล่า ปีแล้วปีเล่าเพื่อเรียนวิชาซ้ำ ๆ กันนั้นเอง ชั่วโมงแล้วชั่วโมงเล่าจนกว่าจะจบหนักสูตรแล้วออกจากโรงเรียนไป เพื่อเรียนต่อในระดับที่สูงกว่า ถ้าเป้นผู้ที่เรียนจบชั้นสูงสุดแล้วก็ไม่ต้องเรียนอีกต่อไป โรงเรียนก็ทำนองเดียวกัน วัญญาณจะต้องมาสู่โลกนี้ชาติแล้วชาติเล่า เพื่อเรียนบทเรียนซ้ำ ๆ กันนั่นเอง เพื่อให้เกิดความชำนาญและรู้แจ้งในเหตุการณ์ต่าง ๆ ของชีวิตแล้วประมวลเป็นบทเรียนที่วิญญาณจะต้องเรียนรู้และทรงจำวิญญาณที่เรียนจบหลักสูตรสมบูรณ์แล้ว ก็ออกจากโลกไปไม่หวดกลับมาอีก ที่เรียกว่า โลกุตตระ
                ข้อแตกต่างระหว่างโรงเรียนสามัญกับโรงเรียนโลกก็คือ ในโรงเรียนสามัญ นักเรียนผู้ไม่สมัครใจเรียนอาจลาออกจากโรงเรียนไปในระหว่างได้ แต่โรงเรียนโลกจะไม่เป็นอย่างนั้น นักเรียนของโรง
เรียนโลก (คือคนทุกคน) จะออกจากโลกไปโดยยังไม่จบบทเรียนหาได้ไม่ ผู้ที่จะออกจากโลกไปเป็นโลกุตตรชนก็เฉพาะผู้ที่จบบทเรียนสมบูรณ์สูงสุดเท่านั้น
                ความทุกข์ยากลำบากเป็นบทเรียนอันสูงค่าของชีวิต ชีวิตยิ่งลำบากเท่าใด เรายิ่งได้เปรียบมากเท่านั้น ทั้งนี้หมายถึงเพื่อการศึกษาและความรอบรู้ของวิญญาณ คนส่วนมากมักตีคุณค่าของชีวิตด้วยลาภผลที่หาได้ เช่น ตำแหน่ง ยศ ความสนุกสนานสำราญใจ ความจริงแล้ว สิ่งเหล่านี้มีคุณค่าแก่ชีวิตน้อย สิ่งที่มีคุณค่าแก่ชีวิตจริง ๆ คือพฤติกรรมอันทำให้เราสามารถพัฒนาจิตใจของเราให้สู่ระดับสูง ความทุกข์ยากและความล้มเหลวเป็นส่วนหนึ่งทำให้เรารู้จักโลกและชีวิตดีขึ้น เพราะจุดปนะสงค์ใหย๋ของชีวิต ก็เพื่อพัฒนาอำนาจที่ซ่อนเร้นอยู่ในตัวของเราให้เจริญถึงขีดสุด ประสบการณืทุกชนิดไม่ว่าเล็กหรือใหญ่เป็นส่วนหนึ่งแห่งบทเรียนของเรา แต่น่าเสียดายที่ดนส่วนมากมักลืมข้อเท็จจริงอันนี้เสีย ไม่ยอมรับบทเรียนที่มหาวิทยาลัยโลกเสนอให้ จึงต้องเรียนซ้ำแล้วซ้ำอีกจนกว่าบทเรียนนั้นจะแจ่มแจ้งขึ้นในใจของเขาเอง
                ระยะเวลาจากชาติหนึ่งไปถึงอีกชาติหนึ่ง กำหนดแน่นอนไม่ได้ ถ้าวิญญาณก้าวหน้ามาก มีคุณธรรมสูงมากจะอยู่ในโลกทิพย์ (สวรรค์) นานเป็ฯพัน ๆ หมื่น ๆ ปี เพื่อย่อยประสบการณ์ต่าง ๆ เข้าสู่อุปนิสัย แล้วมาเกิดในโลกมนุษย์อีก เพื่อหาโอกาสเรียนรู้บทเรียนที่ยังเหลืออยู่บางบท เขาสมัครใจมาเกิดเพื่อทำหน้าที่เป็นครูสอนมนุษย์หรือช่วยเหลือมนุษย์ในการพัฒนาจิตใจการตายแล้วเกิดเป็ฯกระบวนการที่สิ้นสุดได้ ถ้าเราสามารถพัฒนาวิญญาณให้สมบูรณ์จนไม่มีความชั่วหลงเหลืออยู่เลย
                ชีวิตเพียงชาติเดียวให่เพียงพอที่จะหาประสบการณ์ให้แก่วิญญาณได้ เรียกว่าเกือบจะไร้จุดมุ่งหมายเอาทีเดียวเหมือนนักเรียนมาโรงเรียนเพียงวันเดียว จะทันได้เรียนรู้อะไรเด็กที่เกิดมาในแหล่งสลัมในนครใหญ่ ๆ นั้นจะมีประโยชน์อะไรถ้าเขาเกิดมาเพียงชาติเดียว แต่เพราะเหตุที่ไม่มีอะไรสูญ ไม่มีอะไรถูกลืมไม่ว่าชีวิตจะสั้นเพียงใดมันย่อมมีบางสิ่งบางอย่างอันมีคุณค่าควรแก่การทรงจำของวิญญาณ หรือเป็นการใช้หนี้เก่าบางอย่างที่เคยทำมาใจชาติอดีต
                โชคชะตาของแต่ละคน จึงเป็นผลรวมแห่งการกระทำในอดีตของเขาเอง ความสามารถทางจิต สภาพทางกายอุปนิสัยทางศีลธรรม และเหตุการณ์ณ์สำคัญในชาติหนึ่ง ๆ ย่อมเป็นผลแห่งความปรารถนา ความคิดความตั้งใจของเราเองในอดีก โชคชะตามิใช่ใครจะหยิบยื่นให้ใครได้ แต่มันเป็ฯผลรวมแห่งการกระทำของเราเองในอดีตจนถึงปัจจุบัน ความต้องการในอดีตของเราเป้ฯสิ่งกำหนดโอกาสในปัจจุบันของเรา ไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นลอย ๆ  สภาพปัจจุบันของเรา ไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นลอย ๆ สภาพปัจจุบันของเราเป็นผลแห่งการกระทำความคิดและความต้องการของเราในอดีต ไม่เฉพาะแต่ในชาติก่อนเท่านั้น แต่หมายถึงในตอนต้น ๆ แห่งชีวิตปัจจุบันของเราด้วย
                เพราะเหตุที่การเกิดใหม่มีจุดมุ่งหมายนั่นเอง เราจะเห็นว่าในบางยุคมีนักปราชญ์มาเกิดมากมายเป็นหมู่ ๆ เหมือนนัดกันมเกิด ทั้งนี้เพื่อทำประโยชน์อย่งใดอย่างหนึ่งที่ท่านทำคั่งค้างไว้ให้เสร็จไป

กรรมดำ คือ อกุศล ทุจริต
กรรมขาว คือ กุศล สุจริต
กรรมทั้งดำทั้งขาว คือ กรรมทั้งที่เป็นกุศลและอกุศล ทั้งทุจริตและสุจริต
กรรมไม่ดำไม่ขาว คือ กรรมของพระอรหันต์สักแต่ว่าเป็นกิริยาไม่มีผลเป็นสุขหรือทุกข์อีกต่อไป
คนที่มีบาปมาก ไปนรก
คนมีบุญมาก ไปสวรรค์ชั้นดี

ธรรมชาติของการฟังดนตรี

ตัวอย่าง โครงสร้างแนวทำนองเพลงลาวดวงเดือน
                                                                            
                                       ดวง



                                                           
                                           หนอ              เดือน
                                   ละ                                                              
                                                                                                      เอย
              โอ้
                                          เส้นแสดงโครงสร้างแนวทำนองเพลงลาวดวงเดือน

 แนวทำนองเป็นการนำเสียงสูงต่ำ สั้นยาว ดังเบามาปะติดปะต่อกัน แนวทำนองเป็นเนื้อหาหลักของดนตรี แนวทำนองเปรียบเสมือนเค้าโครงเรื่องว่าเรื่องจะดำเนินไปอย่างไร การนำเสียงแต่ละเสียงมาปะติดปะต่อกันเป็นทำนองเพลง แต่ละเสียงจะมีความสัมพันธ์กัน ความเป็นเอกภาพของกลุ่มเสียงหรือที่เรียกว่า วลีเพลง ประโยคเพลงที่จะสร้างความประทับใจแก่ผู้ฟัง การผิวปากหรือฮัมเพลง เป็นการสร้างทำนองหรือจำทำนองแล้วนำมาประดับอารมณ์เมื่อต้องการ

ทำนอง

                                                                อารมณ์ที่เกิดจากการฟังดนตรีครั้งแรกนั้น ก็เพราะอาศัยทำนอง ความประทับใจ เช่น การจำเพลงลาวดวงเดือนได้ ก่อนที่จะจำองค์ประกอบอื่น ๆ ได้นั้นเราจำทำนองก่อน
            การฟังกระสวนจังหวะ เช่น ฟังกลองยาวนาน ๆ เกิดความเมื่อยหู แต่ถ้าหากว่ามีแนวทำนองเข้ามาประกอบย่อมทำให้น่าฟังขึ้น คณะกลองยาวจึงมีเครื่องดนตรีทำแนวทำนองคลอตามไปด้วย หรือการไปเชียร์กีฬา ส่วนใหญ่จะมีกลองให้จังหวะและมีเครื่องดนตรีให้ทำนองทำให้กองเชียร์ครึกครื้นอีกมากทีเดียว
            4. ฟังเนื้อร้อง (text) หลังจากการฟังเสียง จังหวะ ทำนองแล้ว เรามุ่งฟังเนื้อร้อง เนื้อเรื่องหรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับเพลง ผู้ฟังจำนวนมากมุ่งฟังดนตรีเพื่อให้รู้เรื่อง ตัวดนตรีเองนั้นไม่เป็นเรื่อง แต่เนื้อร้องหรือเรื่องที่เกี่ยวกับเพลงสามารถสร้างความประทับใจให้ผู้ฟัง บางครั้งดูเหมือนว่าเนื้อร้องหรือเรื่องเป็นหัวใจของเพลงเสียด้วยซ้ำไป
            นักศึกษาคงเคยประทับใจเพลงดาวลูกไก่ที่ขับร้อง พร ภิรมย์ หลังจากฟังเพลงจบแล้ว บ้างก็นั่งน้ำตาคลอด้วยเหตุผลที่ว่าสงสารไก่ ทั้ง ๆ ที่ศิลปะการถ่ายทอดอารมณ์มีความสำคัญมาก แต่ผู้ฟังส่วนใหญ่เอาใจจดจ่ออยู่ที่เรื่องว่าจะจบลงอย่างไรเพลงที่มีเนื้อร้อง ตัวเนื้อร้องทำหน้าที่ดำเนินเรื่อง แต่ถ้าเพลงที่ไม่มีเนื้อร้อง อย่างเพลงบรรเลงก็พอจะหาเรื่องเกี่ยวกับเพลงมาเล่าสู่กันฟังให้เป็นเรื่อง เช่น จะฟังซิมโฟนีหมายเลข 3 อิโรอิกา (Eroica) ของเบโธเฟน (Beethoven) มีเรื่องเล่าว่าเบโธเฟนเขียนเพลงนี้สรรเสริญนโปเลียน โบนาปาร์ต (Napoleon Bonaparte) เพราะเหตุที่ว่าเบโธเฟนและนโปเลียนมีความคล้ายคลึงกันในระยะต้น ๆ ของชีวิต คือมีแต่ความยุ่งเหยิงประกอบกับความบีบคั้นทางสังคมที่มีแต่ความขื่นขมในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งเป็นมูลเหตุอันสำคัญที่นำไปสู่การปฏิวัติทางวัฒนธรรมในฝรั่งเศส เบโธเฟนชื่นชมยินดีกับความยิ่งใหญ่ของนโปเลียนถึงกับเขียนเพลงให้ชื่อว่า โบนาปาร์ต ครั้นพอนโปเลียนสถาปนาตัวเองเป็นจักรพรรดิด้วยความมักใหญ่ใฝ่สูง เบโธเฟนโกรธมากถึงกับขีดฆ่าชื่อโบนาปาร์ตออกแล้วตั้งชื่อใหม่ว่า อิโรอิกา สรรเสริญความยิ่งใหญ่จะเป็นใครก็ได้ไม่จำเป็นจะต้องเป็นนโปเลียน
            5. ฟังการเรียบเรียงเสียงประสาน (harmony) การเรียบเรียงเสียง คือการนำเอาเสียงมาจัดระบบ เอาเสียงมาซ้อนกันประสานกันตามกฎเกณฑ์ของแต่ละยุคแต่ละสมัยที่นิยมกัน เสียงประสานจะเป็นตัวที่ช่วยอุ้มเสียงดนตรีให้มีพลังทางอารมณ์เสียงประสานของดนตรีเป็นองค์ประกอบภายในที่ละเอียดอ่อนที่ช่วยเกื้อหนุนความงามของบทเพลง
            คำว่าฮาร์โมนีหรือความประสานกันนั้น มีความหมาย 2 ประการด้วยกัน ประการแรก เป็นความหมายทั่ว ๆ ไป หมายถึงความผสมกลมกลืน ความคล้องกัน คู่ควรแก่กัน มีคำโบราณพูดถึงความประสานกันไว้มากมายหลายคำด้วยกัน อย่างเช่น กิ่งทองใบหยก ไม้เท้ายอดทองตะบองยอดเพชร ผีแห้งกับโลงผุ น้ำผึ้งเปรี้ยวมะพร้าวเน่า ซึ่งคำอุปมาเปรียบเทียบเหล่านี้หมายถึงความคล้องจองกัน ประสานกลมกลืนกัน ในขณะเดียวกันก็มีคำที่แสดงถึงความไม่สอดคล้องกัน เช่น ดอกฟ้ากับหมาวัด ขมิ้นกับปูน ผ้าขี้ริ้วห่อทอง เป็นต้น ตัวอย่างเหล่านี้เป็นความขัดแย้งกัน ไม่สอดคล้องซึ่งกันและกัน ทั้งนี้ทั้งนั้นหมายถึงฮาร์โมนีนั่นเอง ซึ่งมีความหมายที่ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นเรื่องดนตรี
            ประการที่สองฮาร์โมนีหรือการประสานคล้องจองในความหมายของดนตรีตะวันตกตั้งแต่สมัยเรเนซองส์ (renaissance) เป็นต้นมา ดนตรีตะวันตกเริ่มให้ความสำคัญของแนวเพลงหลัก โดยมีแนวอื่น ๆ เป็นแนวประสาน ความประสานคล้องจองกันนั้นดำเนินไปทั้งแนวราบและแนวตั้ง ขาดทำนองหลักไปแล้วก็ไม่เป็นเพลง ทุก ๆ แนวต่างก็ทำหน้าที่สนับสนุนทำนองหลัก เป็นความคล้องจองของเสียงที่นำมาเรียบเรียง จึงมักจะเรียกกันว่า เรียบเรียงเสียงประสาน
            6. ฟังสีสันแห่งเสียง (tone colour) เป็นการฟังสีของเสียงว่ามีคุณภาพอย่างไร ศิลปะมีสีขาวเป็นพื้นก่อนที่ระบายสี ส่วนดนตรีมีความเงียบเป็นพื้น สีสันแห่งเสียงถูกนำมาใช้ในชีวิตประจำวันโดยที่เราไม่รู้ตัว การที่เรารู้ว่าใครพูดในขณะที่เรายังไม่เห็นตัว เพราะหูของเราสามารถจำแนกสีเสียงที่ได้ยินว่าแต่ละเสียงแตกต่างกันอย่างไร บางครั้งแม้แต่เสียงเดินของแต่ละคนก็สามารถบอกได้ว่าเป็นใคร คนตาบอดอาศัยความแตกต่างของสีเสียงในการจำบุคคล ละครวิทยุอาศัยสีเสียงในการสร้างตัวละครว่าเสียงใดเป็นเสียงพระเอก เสียงใดเป็นเสียงตัวโกง หรือเสียงใดควรเป็นเสียงคนใช้ เรามักจะได้ยินคำว่าน้ำเสียง ซึ่งมักใช้กับผู้ประกาศวิทยุและโทรทัศน์ น้ำเสียงเป็นเรื่องสำคัญที่คำนึงถึง ผู้ที่ได้รับเลือกไปเป็นผู้ประกาศเพราะเป็นผู้ที่น้ำเสียงดีน้ำเสียงก็คือเสียงที่มีคุณภาพนั้นเอง
            สีสันแห่งเสียงของดนตรีเป็นเสียงที่เกิดจากเครื่องดนตรีที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับวัสดุและรูปแบบของเครื่องดนตรี ทั้งการเกิดของเสียง ดีด สี ตี เป่า (เขย่า ชัก ดูด) และพ่น ผ่านตัวกลางสื่อกลางที่ต่างกัน วัสดุที่ใช้ทำเครื่องดนตรี เช่น เส้นลวด โลหะ เชือกที่ต่างกัน ฯลฯ สื่อกลางเหล่านี้ทำให้สีเสียงของเครื่องดนตรีมีความแตกต่างกัน
            อย่างไรก็ตาม ดนตรีอาศัยความเงียบเป็นพื้นเสียง การที่จะฟังว่าสีเสียงเครื่องดนตรีแต่ละชนิดนั้นเป็นอย่างไร เราต้องฝึกฟังเสียงเครื่องดนตรีชนิดนั้น ๆ โดยฟังเดี่ยว ๆ ก่อน เมื่อเรารู้จักเคยชินกับเสียงเครื่องดนตรีแต่ละชนิดแล้ว ลองฟังว่าบทประพันธ์เพลงแต่ละบทใช้เครื่องดนตรีอะไรบ้าง ตรงไหน อย่างไร ไพเราะไหม ชอบหรือไม่ชอบ
            ความชอบความพอใจสีสันแห่งเสียงเครื่องดนตรีชนิดใดเป็นพิเศษเป็นเรื่องเฉพาะตัวของแต่ละคน ความแตกต่างของสีสันแห่งเสียงเกิดขึ้นจากเหตุผล 3 ประการด้วยกัน ประการแรก เป็นเครื่องดนตรีอะไร การกำเนิดของเสียงเป็นอย่างไร เป็นเครื่องสาย เครื่องเป่า หรือเครื่องเคาะ ประการที่สอง ศักยภาพของเครื่องดนตรีเป็นอย่างไร เครื่องดนตรีมีความสมบูรณ์ในตัวของมันเองแค่ไหน และประการสุดท้ายความสามารถของนักดนตรีในการใช้เครื่องดนตรีบรรเลงถ่ายทอดอารมณ์ได้ถึงอารมณ์เพลงหรือไม่ อย่างไร ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ผู้ฟังเป็นผู้วินิจฉัยด้วยตัวเอง
7. ฟังรูปแบบของเพลง (form) รูปแบบหรือโครงสร้างของเพลงเป็นการฟังดนตรีอย่างภาพรวม ๆ ทั้งหมด การที่เราจะรู้ว่าลักษณะอย่างไรเป็นผู้หญิง ลักษณะอย่างไรเป็นผู้ชาย ผู้หญิงและผู้ชายแตกต่างกันอย่างไรนั้นอาศัยโครงรูปแบบเป็นหลักดนตรีก็เช่นเดียวกัน เพลงท่อนเดียว 2 ท่อน 3 หรือ 4 ท่อน บรรเลงเดี่ยว หรือบรรเลงเป็นวง สิ่งเหล่านี้เป็นโครงสร้างและรูปแบบของดนตรี เพลงตับ เพลงเถา เพลงเรื่อง โซนาตา คอนแชร์โต ซิมโฟนี เพลงแต่ละบทจะไม่เหมือนกัน  การเรียนรู้โครงสร้างของบทเพลงจากตำราเรียนนั้นเป็นแต่เพียงโครงสร้างอย่างคร่าว ๆ แต่ในความเป็นจริงนั้นเพลงแต่ละบทมีความแตกต่างกัน รูปแบบของบทเพลงแต่ละบทเป็นเอกลักษณ์จำเพาะของบทนั้น ๆ
            การฟังดนตรีก็เช่นเดียวกัน ต้องรู้เค้าโครงใหญ่ รู้เค้าโครงย่อย ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องอาศัยการเรียนรู้โดยการฟัง
            8. ฟังอย่างวิเคราะห์ (analysis) การฟังอย่างวิเคราะห์นั้นเป็นการฟังเพื่อหารายละเอียดของผลงานชิ้นนั้น ๆ ว่าเป็นอย่างไร มุ่งวิเคราะห์ในรายละเอียด เช่น เสียงสูง ต่ำ ดัง เบา หนา บาง เป็นต้น โดยอาศัยหลักการทฤษฎีทางดนตรี ความรู้ ความเข้าใจบวกกับประสบการณ์ ฟังอย่างนักฟัง นักดนตรี นักเรียนดนตรี นักวิจารณ์ กรรมการตัดสินการประกวดดนตรี แต่ละฝ่ายก็มีเกณฑ์ในการฟังที่แตกต่างกันซึ่งขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของการฟัง  การฟังดนตรีอย่างวิเคราะห์นั้นไม่ได้มุ่งเพื่อความเพลิดเพลินแต่อย่างใด แต่เป็นการฟังโดยมีจุดประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ฟังเพื่อจะวิเคราะห์ว่าเป็นผลงานของใคร สมัยใด ใช้เครื่องดนตรีอะไรในการบรรเลง แต่งในรูปแบบใด การประสานเสียงเป็นอย่างไร เป็นต้น
           
9. ฟังเพื่อสุนทรียะ (aesthetic) การฟังดนตรีเพื่อให้เกิดความซาบซึ้งเป็นประโยชน์ของชีวิต เป็นการฟังที่อยู่เหนือกฎเกณฑ์ที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด เพราะการฟังประเภทนี้เป็นเรื่องของผู้ที่จะเลือกบริโภคให้เหมาะสมกับตน ผู้ฟังอาจจะมีความพอใจอยู่ในระดับใดระดับหนึ่งที่กล่าวมาแล้ว เพียงความสุขส่วนตัวที่จะเลือกฟังในสิ่งที่ตนชอบโดยอาศัยความรู้ความสามารถและประสบการณ์ที่ตนมีอยู่ให้เป็นประโยชน์แก่ตนเองมากที่สุด
การวิเคราะห์ผู้ฟัง
            ความสำเร็จของผู้พูด ขึ้นอยู่กับความสนใจของผู้ฟัง  ดังนั้น ผู้พูดจึงต้องทำความรู้จักผู้ฟังให้มากที่สุด เพื่อนำมาวางแนวทางการพูด ให้ตรงกับความสนใจของผู้ฟัง และทำให้ผู้ฟังพอใจ ซึ่งคล้ายกับการวางแผนการรบที่ซุนวูได้เคยสอนไว้ว่ารู้กำลังเรา รู้กำลังข้าศึกรบ 100 ครั้ง ก็ชนะทั้ง 100 ครั้ง

               การวิเคราะห์ผู้ฟัง ควรพิจารณาในเรื่องหลักๆ ดังต่อไปนี้
1.      เพศ
ผู้ฟังแบ่งออกเป็น 2 เพศ คือ
-          เพศหญิง
-          เพศชาย

ความสนใจและแนวโน้มทางจิตวิทยามีความแตกต่างกัน ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้
เพศหญิง  โดยส่วนใหญ่มักชอบความละเอียดอ่อน  ประณีต  ชื่นชมความสวยงาม
พิถีพิถันการแต่งกาย ให้ความสนใจกับสังคม ชอบแฟชั่น  ศิลปการแสดง ฯลฯ นอกจากนี้ ผู้หญิงมักเคร่งครัดระเบียบวินัย จุกจิกมากกว่าผู้ชาย  ผู้หญิงมักไม่กล้าแสดงออกในบางประการ เนื่องจากมีความเขินอายตามประเพ
เพศชาย  โดยส่วนใหญ่มักชอบความสบาย  ทำอะไรแบบง่ายๆ ไม่ชอบยุ่งยาก สนใจในเรื่องท้าทาย ความสามารถ  สนใจการเมือง  ชอบคบเพื่อนฝูง  การเที่ยวเตร่  การสังสรรค์  ชอบการตัดสินใจ  ไม่ชอบการดูถูกเหยียดหยาม ฯลฯ

2.      วัย หรือ อายุ
ผู้ฟังโดยส่วนใหญ่มีวัยอยู่ในระดับใด วัยของผู้ฟังแบ่งออกได้ ด วัยเด็ก  อายุตั้งแต่เกิดถึง 15 ปี  มักให้ความสนใจในเรื่องความสนุกสนาน ไม่หนัก
สมอง โดยเฉพาะเรื่องแปลก การผจญภัยที่ให้ความตื่นเต้น  การละเล่นที่น่าสนใจ ชอบการมีส่วนร่วม

วัยหนุ่มสาว  ตั้งแต่อายุ 15 ปีถึงประมาณ 30 ปี ให้ความสนใจในเรื่องความรัก ความสนุกสนานเพลิดเพลิน  ความสะดวกสบายในชีวิตความเป็นอยู่   สนใจสิ่งแปลกๆ    และวิวัฒนาการที่มีความก้าวหน้า ชอบการศึกษาเรียนรู้ ฯลฯ

วัยกลางคน  อายุตั้งแต่ 30 ปีถึงประมาณ 50 ปี มักต้องการความมั่นคงในชีวิตรักการทำงาน ทุ่มเทชีวิตจิตใจให้กับงาน   มีความจริงจัง  ตระหนักถึงความรับผิดชอบ   ชอบการวางแผนอย่างสุขุมรอบคอบ สนใจในเรื่องชีวิตครอบครัว  อยากเห็นความเจริญก้าวหน้าของลูกหลาน ฯลฯ

 วัยชรา  อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป มักเป็นคนอนุรักษ์นิยมมากขึ้น  มีความมัธยัสถ์  เก็บหอมรอบริบทรัพย์สมบัติ นึกถึงความหลัง ความสำเร็จในชีวิตที่ผ่านมา ภูมิใจในความสำเร็จของลูกหลาน ฯลฯ

ถ้าผู้พูดวิเคราะห์วัยของผู้ฟังได้อย่างถูกต้องจะสร้างความศรัทธาและเลือกเรื่องได้เหมาะสม ในกรณีที่ความแตกต่างของวัยมีมาก ผู้พูดต้องเตรียมเรื่องที่ผู้ฟังทุกวัยฟังได้และสนใจ

3.      การศึกษา
ระดับการศึกษามีส่วนต่อระดับความเข้าใจของเนื้อเรื่องที่พูด  การพูดที่ดีนั้นต้องมีความ
สอดคล้องกับพื้นฐานการศึกษาของผู้ฟัง อาทิเช่น  ผู้ฟังเป็นผู้มีการศึกษาระดับสูง แนวการพูดที่เป็นวิชาการมีเหตุผลชัดเจน ย่อมเป็นสิ่งที่ผู้ฟังพอใจและเข้าใจ  แต่ถ้าผู้ฟังมีการศึกษาน้อย แนวการพูดต้องเป็นแบบง่ายๆ ฟังแล้วเข้าใจ ไม่เป็นวิชาการมากเกินไป
การวิเคราะห์ในเรื่องการศึกษานี้ถือว่าสำคัญ  ถ้าวิเคราะห์ผิดพลาด ผู้ฟังอาจดูถูกภูมิปัญญา
ของผู้พูดได้ถ้าระดับการศึกษาแตกต่างกันควรสรรหาวิธีการพูดให้ผู้ฟังทุกระดับฟังแล้วรู้เรื่องและเข้ใจ

4.      อาชีพ
ผู้ฟังที่มีอาชีพอะไร มักสนใจไปในแนวทางอย่างนั้น         การฟังเรื่องอะไรมักนำไป
เปรียบเทียบกับเรื่องที่ตนเองประกอบอาชีพอยู่หรือ มีประสบการณ์มาก่อน ความแตกต่างของภูมิประเทศทำให้เกิดความแตกต่างของอาชีพ การพูดในแต่ละสถานที่ การยกตัวอย่างหรือถ้อยสำนวน ควรสอดคล้องกับอาชีพของผู้ฟังโดยส่วนใหญ่  ถ้าผู้ฟังมีหลากหลายอาชีพไม่ควรให้ความสนใจหรือเน้นเฉพาะอาชีพใดอาชีพหนึ่ง

5.      ทัศนคติและความเชื่อ
ู้ฟังอาจมีความแตกต่างกันในเรื่องทัศนคติและความเชื่อถือ
-          นับถือศาสนาต่างกัน
-          ความเชื่อทางการเมืองต่างกัน
-          ทัศนคติต่อสังคมต่างกัน

6.      ความสนใจพิเศษของผู้ฟัง
การพูดในช่วงที่ผู้ฟังมีความสนใจอะไรอยู่เป็นพิเศษ  ผู้พูดควรดึงเอาเหตุการณ์ที่ผู้ฟังสนใจ
มาก มาประกอบเรื่องที่พูดอย่างผสมผสาน จะเพิ่มความสนใจในเรื่องที่พูดมากยิ่งขึ้นเมื่อรู้จักผู้ฟัง รู้ว่าผู้ฟังชอบ  หรือมีความสนใจในเรื่องใดเป็นพิเศษแล้ว  ผู้พูต้องปรับตัวในการพูดให้สอดคล้องกับผู้ฟัง  การพูดนั้นจะได้รับความสนใจ ผู้ฟังย่อมรับหรือเข้าใจได้ง่าย ซึ่งนั่นคือความสำเร็จของผู้พูด


องค์ประกอบในการพูดจับใจความ

องค์ประกอบในการพูดให้จับใจผู้ฟัง
            องค์ประกอบที่สำคัญในการพูดให้จับใจผู้ฟัง มี 3 ส่วน คือ
1.      ผู้พูด
ประกอบด้วยเรื่องที่ต้องรู้ดังนี้
-          บุคลิกลักษณะ
-          การเตรียมตัว
2.      เนื้อหา
ประกอบด้วยเรื่องที่สำคัญคือ
-          การรวบรวมข้อมูล
-          การสร้างโครงเรื่อง
-          การใช้ถ้อยคำภาษา
-          การใช้สื่อ
-          การทดสอบความพร้อม
3.      ผู้ฟัง
-          วิเคราะห์ผู้ฟัง  เพื่อเตรียมตัวพูด

บุคลิกลักษณะที่ดีของผู้พูด
            ลักษณะที่ดี 10 ประการของผู้พูด
1.      รูปร่างหน้าตา
การดูแลรูปร่างหน้าตาให้ดูดี จะช่วยสร้างความพอใจและความยอมรับจากผู้ฟังหรืออย่างน้อยก็ไม่ทำให้เกิดความรู้สึกต่อต้านจากผู้ฟัง จึงเป็นสิ่งที่ผู้พูดไม่ควรละเลย
เรื่องที่ควรให้ความสำคัญเกี่ยวกับรูปร่างหน้าตา คือ
-          ความสะอาด
-          ความเรียบร้อย
-          การจัดให้ดูดี
2.      การแต่งกาย
ไก่งามเพราะขน  คนงามเพราะแต่ง   ยังคงใช้ได้    สำหรับการเป็นผู้พูดที่ประสบ
ความสำเร็จ เพราะการแต่งกายที่ดี  จะนำมาซึ่งความพอใจและความเชื่อถือของผู้ฟัง
                        การแต่งกายที่ดี ควรพิจารณาในเรื่องต่อไปนี้
-          รูปร่าง
-          วัย
-          โอกาส
-          เวลา
-          สถานที่
-          การตกแต่งประดับประดาที่พอดี
-          การสำรวจตรวจสอบความเรียบร้อย
-          ความสุภาพ
3.      น้ำเสียง
ผู้พูดต้องพูดเสียไม่เบา  หรือดังเกินไป  โดยคำนึงถึงสถานที่และ จำนวนผู้ฟัง  รู้จักใช้เสียงหนัก  เบา  มีท่วงทีลีลาและจังหวะในการพูด    มีการเน้นย้ำให้สอดคล้องกับเรื่องที่พูด เพื่อการกระตุ้นผู้ฟังให้สนใจตลอดเวลา
4.      สีหน้า
ผู้พูดต้องแสดงสีหน้าให้สอดคล้องกับเรื่องราวที่พูด  พูดเรื่องเศร้าสีหน้าต้องเศร้า โกรธ สีหน้าต้องโกรธ  พูดจริง หน้าตาต้องจริงจัง  พูดเล่น หน้าตา (น้ำเสียงด้วย) ก็ต้องให้ผู้ฟังรู้ว่าพูดเล่น ฯลฯ  ผู้ฟังจะคล้อยตามผู้พูดเมื่อสีหน้าผู้พูดแสดงความรู้สึกที่เป็นธรรมชาติ
           
5.      สายตา
ดวงตาเป็นหน้าต่างของดวงใจ   ใจของผู้พูดเป็นอย่างไร  ตาก็เป็นอย่างนั้น ผู้พูดต้องสบตาผู้ฟัง เพื่อให้รู้สึกว่าผู้พูดกำลังพูดกับผู้ฟัง

6.      ท่าทาง
ผู้พูดต้องพูดจากใจ มีความจริงใจ พูดจากความรู้สึกจริงๆ ท่าทางก็ออกไปโดยอัตโนมัติ อย่างไปกำหนดท่าทางว่า พูดอย่างนี้อย่างนั้นแล้ว ต้องแสดงท่าทางอย่างนี้อย่างนั้น จะทำให้การพูดสะดุดไม่เป็นธรรมชาติ แต่พึงระวัง ในระหว่างที่กำลังพูดอย่าล้วง แคะ แกะ เกา จะทำให้ผู้ฟังไปสนใจกิริยาท่าทางดังกล่าว

7.      ความเชื่อมั่น
ผู้พูดที่ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง จะแสดงความประหม่าให้ผู้ฟังเห็น นอกจากการพูดจะไม่คล่องแล้ว ความประทับใจของผู้ฟังก็จะไม่เกิดขึ้น  ผู้พูดต้องแสดงความเชื่อมั่นให้กับตนเอง คือ ต้องศึกษาหลักการพูด  วิเคราะห์ผู้ฟัง  เตรียมเนื้อหาและฝึกซ้อมจนพูดได้โดยรู้สึกเป็นธรรมชาติ ปราศจากความประหม่า

8.      ความกระตือรือร้น
ผู้พูดที่ดีต้องพูดอย่างมีชีวิตชีวา ไม่เนือย ไม่เฉื่อย เพราะทฤษฎีของการพูดมีอยู่ว่า ผู้พูดต้องเป็นผู้กำหนดท่าทีของผู้ฟัง  นั่นหมายความว่า  หากผู้พูดพูดอย่างกระตือรือร้น ผู้ฟังจะ สนใจและกระตือรือร้นในการฟัง

9.      อารมณ์ขัน
ผู้ฟังทุกคนต้องการหาความรู้ ต้อการฟังเรื่องที่มีสาระ แต่ในขณะเดียวกัน  ก็ต้องการความสนุกสนานด้วย  หากผู้พูดมีอารมณ์ขัน และใช้อารมณ์ขันให้เหมาะสม กับเรื่องกับโอกาสแล้ว จะประสบความสำเร็จในการพูดเป็นอย่างยิ่ง  ผู้ฟังจะพอใจและประทับใจและมีอารมณ์ร่วมตลอดเวลา อารมณ์ขันจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้พูดมีอารมณ์แจ่มใส มองคนมองโลกในแง่ดี สะสมตัวอย่างตลกขำขัน ไว้มากมายสามารถจะดึงมาให้ได้อย่างไม่หมดสิ้น

10.  ปฏิภาณไหวพริบ
เพื่อใช้แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้น  การฝึกฝนให้มีปฏิภาณไหวพริบ จะช่วยคลี่คลายสถานการณ์ ทำให้เรื่องร้ายกลายเป็นดี หรือผ่อนคลายจากหนักเป็นเบาลงได้

ความสำคัญของการพูด

ความสำคัญของการพูด
     การพูดเป็นการสื่อสารที่สะดวก  รวดเร็ว  ประหยัด  และมีประสิทธิภาพสูง ทุกคน ทุกอาชีพ ล้วนแล้วแต่ต้องใช้การพูดด้วยกันทั้งนั้น ในทางพุทธศาสนาได้จัดการพูดดีไว้เป็นมงคลชีวิต มงคลหนึ่งใน 38 มงคล คือ มงคลที่ 10  สุภาสิตา  อยา  วาจาหมาถึง การมีวาจาสุภาษิต เป็นมงคลชีวิต... คึกฤทธิ์  ปราโมช  ได้ชี้ถึงความสำคัญของการพูดไว้ในเรื่อง  การพูดสมบัติพิเศษของมนุษย์  ดังนี้ในการเสนอแผนการหรือนโยบายนั้น  บุคคลผู้เสนอจะต้องอาศัยปากอันเป็นเอก หรือการพูดที่ดีเป็นสำคัญ  หากพูดดีแล้วก็ย่อมได้รับการสนับสนุนร่วมมือโดยไม่มีปัญหา แต่ถ้าหากว่าพูดไม่ดี  เป็นต้นวาขาดการใช้ถ้อยคำที่สละสลวยถูกต้อง  หรือขาดสำนวนโวหารอันควรฟัง ลำดับเหตุผลไม่ถูกต้อง ไม่รู้จิตวิทยาชุมชน หรือ ลุแก่โทสะ โมหะ  อย่างใดอย่างหนึ่งในระหว่างที่พูดแล้ว แผนการหรือนโยบายที่ตั้งในจะเสนอนั้น ก็จะล้มเหลวเสียตั้งแต่แรก เพราะขาดผู้สนใจ ขาดผู้สนับสนุน ประโยชน์ที่ควรจะเกิดก็ไม่เกิดขึ้น

ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจ

ภาษาเพื่อการสื่อสารทางธุกิจ
การสื่อสารของมนุษย์

          ภาษาคือสิ่งที่มนุษย์ใช้ในการสื่อสารซึ่งกันและกัน    ทำให้มนุษย์สามารถเข้าใจความหมาย ถ่ายทอดความคิด ประสบการณ์ต่างๆ ที่มีอยู่ การสื่อสารด้วยภาษาของมนุษย์ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่มนุษย์สร้างขึ้นมาด้วยจุดประสงค์แตกต่างกัน  ภาษาที่มนุษย์มีหลายรูปแบบทั้งด้านการใช้เสียง  ภาพ  ท่าทาง สีหน้า สายตา  ตัวหนังสือ       และรูปแบบอื่นๆ  ซึ่งในบางครั้งอาจจะเกิดขึ้น   โดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ได้   แต่สิ่งสำคัญคือหากมนุษย์ไม่เรียนรู้หรือมีประสบการณ์ในการใช้ภาษาแล้วก็อาจทำให้เกิดความผิดพลาดเสียหายได้

          นอกจากภาษาที่มนุษย์ใช้ในการสื่อสารความหายตามปกติแล้ว มนุษย์ยังได้สร้างภาษาเฉพาะขึ้นมาเพื่อ ใช้สื่อสารตามวัตถุประสงค์ของตนเองในอีกหลายลักษณะ เช่น ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารมวลชน  การโฆษณา  การประชาสัมพันธ์   ภาษาทางการฑูต  ภาษาราชการ  ภาษาทางการแพทย์   ภาษาทางวิชาการ   ภาษาวัยรุ่น  ภาษาในวงการสงฆ์ ฯลฯ  นอกจากนั้นยังมีภาษาที่ใช้ในกรณีพิเศษอื่นๆ อีกเช่น  ภาษาของคนหูหนวก  ภาษาของคนตาบอด   ภาษาดนตรี  การศึกษาเพื่อให้เข้าใจความหมายของภาษาเหล่านี้    เพื่อประโยชน์ในการสื่อสารของมนุษย์ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง

          ตามธรรมชาติแล้ว มนุษย์ไม่มีภาษาเพื่อใช้ในการสื่อสารระหว่างกัน เหมือนกับสัตว์อื่นๆ แต่เมื่อมีความจำเป็นต้องมาอยู่ร่วมกันเนื่องจากความต้องการการอยู่รอดของชีวิต ซึ่งต้องคิดวิธีการที่จะสามารถสื่อความหมายระหว่างกัน มนุษย์จำต้องคิดสร้างภาษาเพื่อสื่อสารความคิดความต้องการและประสบการณ์ของภาษาให้ผู้อื่นได้รับรู้  ซึ่งก็ทำให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่าง  เพราะมีความเข้าใจซึ่งกันและกัน  เนื่องจากภาษาเป็นสิ่งที่ไม่ได้ขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่มนุษย์เป็นผู้สร้างขึ้นมาตามจุดประสงค์ของตนเอง  ดังนั้นเพื่อที่ทำให้สามารถเข้าใจความหมายได้ร่วมกัน มนุษย์จึงมีความจำเป็นในการต้องเรียนรู้ต้องมีทักษะและมีประสบการณ์ในการใช้ภาษาต่างๆ เพื่อให้เกิดการรับรู้ร่วมกันได้  หากไม่ได้มีการเรียนรู้แล้ว  โอกาสที่จะเข้าใจความหมายร่วมกันก็ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ จะเห็นว่าลักษณะภาษาของมนุษย์ถ้าเป็นสิ่งที่ไม่ได้รับการเรียนรู้หรือฝึกหัด จะเป็นการสื่อความหมายเฉพาะแต่อารมณ์ที่เกิดขึ้น แต่ไม่ได้สื่อความหมายอื่นใดๆ เช่น ความคิดเห็น หรือข้อมูลอื่นๆ

          ดังนั้นหากการสื่อสารที่ออกมาตามธรรมชาติของมนุษย์จะไม่ผ่านการกลั่นกรอกใดๆ ไม่สามารถสื่อสาร ความซับซ้อนของการสื่อสารอื่นได้ เช่น หัวเราะเมื่อพอใจ  ร้องไห้เมื่อเสียใจ  เบิกตาโตหรืออุทานเมื่อตกใจ เป็นต้น

          สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่การสื่อสารที่ซับซ้อนของมนุษย์เป็นแค่ภาษาที่แสดงถึงความรู้สึกตามธรรมชาติเท่านั้น ไม่มีการสร้างขึ้นมา  เพื่อใช้ในการสนองจุดประสงค์อื่นใดภาษาที่มนุษย์สร้างขึ้นนั้นมีขั้นตอนการพัฒนาของตนเอง  จากภาษาที่เรียบง่าย   ไม่มีจุดประสงค์อย่างอื่นนอกจากให้ข้อมูลรายละเอียด ไปสู่การถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึก และสร้างข้อมูลเพื่อให้เกิดการคล้อยตาม ไปจนถึงภาษาที่มีลักษณะเฉพาะอื่นๆ
1.    ภาษาที่ใช้ในการบอกเล่าเรื่องราวรายละเอียด
2.    ภาษาที่ใช้ในการถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึก
3.    ภาษาที่ใช้ในการชัดจูงใจให้เกิดความคล้อยตาม
4.    ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารโดยเพิ่มเติมศิลปะหลายรูปแบบ

การสื่อสารความหมายของมนุษย์มีจุดประสงค์สำคัญคือ การสร้างสัมพันธ์ภาพในระหว่างกัน
ของมนุษย์  ทั้งนี้เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายมีส่วนเกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน  และการที่มนุษย์สามารถสร้างสัมพันธ์ภาพระหว่างกันขึ้นมาได้  ก็เนื่องจากเหตุผลที่มนุษย์มีความสามารถในการสื่อสารนั่นเอง

                   ความสามารถในการสื่อสารของมนุษย์เป็นสิ่งที่มีขึ้นของการพัฒนาจากง่ายไปหายาก ไปสู่สิ่งที่มีความซับซ้อน  เพื่อสนองจุดประสงค์ที่มีความหลากหลาย  แต่เป็นสิ่งที่สามารถฝึกฝนทักษะได้  เป็นสิ่งที่มนุษย์มีความจำเป็นต้องเรียนรู้และเรียกใช้ให้ถูกต้อง  การสื่อสารของมนุษย์โดยผ่านทางภาษาเสียง(วัจนะภาษา) และภาษาที่ไม่ออกเสียง (อวัจนะภาษา) เป็นการนำเอาข้อเท็จจริง  ความคิดเห็น  ความรู้สึก  ประสบการณ์ของตนเองที่มีอยู่มาอาศัยช่องทางในการส่งออกจนทำให้ผู้อื่นสามารถรู้ความหมายได้ใกล้เคียงกับผู้ส่งสาร

                   เราอาจกล่าวได้ว่า ภาษาเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ และการถ่ายทอดสืบเนื่องกันมาของมนุษย์นั่นเอง  ประสิทธิภาพในการใช้ภาษาของมนุษย์ขึ้นอยู่กับทักษะของคนทั้ง 2  ฝ่าย  คือ  ทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสาร  หากมีทักษะในการสื่อสารใกล้เคียงกัน  การเข้าใจความหมายก็มีคุณภาพขึ้นตามไปด้วย


ตอนที่ 2  รูปแบบที่ใช้ในการสื่อสาร

                   การสื่อสารของมนุษย์นั้นมีหลายรูปแบบ  แต่ละประเภทมีลักษณะที่แตกต่างกันไป  การที่จะสื่อสารได้อย่างมีคุณภาพจึงมีความจำเป็นต้องเรียนรู้ถึงลักษณะเฉพาะของการสื่อสารแต่ละประเภทด้วย

                   รูปแบบการสื่อสารต่างๆ ที่จะแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบได้ดังนี้
1.    การสื่อสารส่วนบุคคล (Intrapersonal Commutation)
2.    การสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Commutation)
3.    การสื่อสารมวลชน (Mass Communication)
การสื่อสารส่วนบุคคล (Intrapersonal Communication)

                   เป็นการสื่อสารที่เกิดขึ้นและจบลงในตัวคนเดียว  เป็นสำนวนภาษาการสื่อสารที่คิดว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการสื่อสารทุกประเภท  ทำให้มนุษย์สามารถเรียนรู้จักตนเอง และนำไปใช้ในการพัฒนาทักษะ เพื่อสื่อสารกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี

การสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication)

                   เป็นการสื่อสารที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป  ลักษณะพิเศษของการสื่อสารแบบนี้คือ มีการเผชิญหน้ากันในระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร  ทำให้การสื่อสารสามารถพัฒนาต่อไปได้  เพราะสามารถแก้ไขได้ในทันทีทันใดหากมีความผิดพลาดเกิดขึ้น   เป็นการสื่อสารที่สมบูรณ์เนื่องจากครบวงจรมีปฏิกิริยาโต้ตอบเกิดขึ้นในการสื่อสาร  ทำให้ผู้ส่งสารรู้ว่าผู้รับสารเข้าใจในสารที่ส่งไปหรือไม่    ถือว่าเป็นการสื่อสารที่มีคุณภาพสมบูรณ์ที่สุด มีประสิทธิภาพมากที่สุด ในกระบวนการสื่อสารทั้งหมด การสื่อสารประเภทนี้แบ่งเป็น 3 ลักษณะใหญ่ๆ ด้วยกันคือ

1.    การสื่อสารแบบพบปะสนทนาไม่เป็นทางการ (person to person)
ไม่มีรูปแบบบังคับเป็นการพูดคุยกันธรรมดาในเรื่องที่พูดไป เช่น การสนทนาพูดคุยที่ใช้
ในชีวิตประจำวัน

2.    การสื่อสารกลุ่มย่อย (small group communication)
เป็นการสื่อสารที่มีรูปแบบบังคับว่าจะต้องเป็นการพูดสนทนาระหว่างบุคคล 3 คนขึ้นไป
มาพูดคุยกันในรูปแบบของการปรึกษาหารือ เพื่อจุดประสงค์เดียวกัน  การประชุมนี้อาจจะเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการก็ได้  แต่ต้องมีการกำหนดจุดประสงค์ เพื่อบรรลุจุดหมายร่วมกัน อาจมีการจัดตั้งหัวหน้ากลุ่มอย่างเป็นทางการหรือไม่ก็ได้  แต่ผลสรุปที่ออกมาจะเป็นสิ่งที่ทั้งกลุ่มจะยอมรับ  และปฏิบัติตาม  ลักษณะของการรวมกลุ่มและ  ปฏิกริยาที่เกิดขึ้นในกลุ่ม รวมทั้งบรรยากาศของการรวมกลุ่ม จะทำให้เราสามารถทราบได้ว่า การรวมกลุ่มในครั้งนี้ประสบความสำเร็จหรือไม่  รวมทั้งผลสรุปที่เกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มนี้จะใช้ประโยชน์ได้หรือไม่ เพราะหากบรรยากาศในการรวมกลุ่มมีลักษณะไม่น่าพังประสงค์  เช่น  ไม่มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น  สมาชิกไม่มีความรู้สึกที่จะมีส่วนร่วมในการรวมกลุ่มเช่นนี้ ผลสรุปนั้นอาจจะไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้  เพราะไม่ได้เกิดขึ้นจากการระดมความคิดของกลุ่มจริงๆ การสื่อสารประเภทนี้เหมาะสำหรับแก้ไขปัญหา  หรือการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อการทำกิจกรรมอย่างหนึ่งอย่างใดร่วมกัน เป็นการสื่อสารที่มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน


3.    การสื่อสารกลุ่มใหญ่ (Large Group Communication) หรือในบางครั้งก็เรียกว่า  การพูด
ในที่สาธารณะชน (Public Speaking)
                             เนื่องจากเป็นลักษณะของการสื่อสารที่มีลักษณะของการพูดต่อหน้าคนจำนวนมาก  ลักษณะของการสื่อสารแบบนี้คือ  การอภิปราย (Dissuscion)  การบรรยาย (Lecture)  หรือการปาฐกถา เป็นต้น  ผู้ส่งสารจะเป็นผู้ที่รับผิดชอบกระบวนการสื่อสาร  โดยจะเป็นผู้ควบคุมให้กระบวนการการสื่อสารดำเนินไปในทิศทางต่างๆ
                             สารที่ใช้ในการสื่อสารได้ถูกเตรียมพร้อมเป็นอย่างดีเพื่อการส่งออก  ซึ่งจะมีลักษณะเดียวกับการสื่อสารมวลชนที่สารได้มีการเตรียมพร้อมไว้ก่อน  แต่ความแตกต่างจะอยู่ตรงที่  ถ้าหากเป็นการสื่อสารกลุ่มใหญ่  จะมีโอกาสพัฒนากระบวนการสื่อสารให้สอดคล้องกับบรรยากาศ  และผู้รับสารได้  โดยไม่เปลี่ยนจุดประสงค์  ทำให้การสื่อสารมีความเหมาะสม และ สามารถประสบผลสำเร็จได้มากขึ้น  ในขณะที่สื่อสารมวลชนไม่สามารถปรับเปลี่ยนการสื่อสารได้เลย  การสื่อสารประเภทนี้จะเน้นเรื่องของบรรยากาศ  สภาพแวดล้อม  และการมีอารมณ์ของกลุ่มผู้รับสารเป็นสำคัญ
                             ในการสื่อสารประเภทนี้ ผู้ส่งสารต้องมีความสามารถในการควบคุมทิศทางของกระบวนการสื่อสารให้เป็นไปตามที่ต้องการ  ซึ่งแตกต่างจากการสื่อสารกลุ่มย่อย เพราะจะมีลักษณะของการสื่อสารแบบทุกคน  ไม่ว่าจะเป็นผู้ส่งสาร หรือผู้รับสาร จะมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน บรรยากาศซึ่งนับว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญของการสื่อสารแบบนี้  เพราะสามารถทำให้ผู้รับสารเกิดความคล้อยตามได้ง่าย


การสื่อสารมวลชน  (Mass Communication)

                    การสื่อสารแบบนี้ทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสาร ไม่มีโอกาสเผชิญหน้ากัน  จึงเป็นการสื่อสารผ่านอุปกรณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น  วิทยุ  โทรทัศน์  อินเทอร์เน็ต  และสิ่งพิมพ์  การจัดเตรียมสารเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ก่อนส่งสาร  ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่ง  เพราะเมื่อส่งไปแล้วจะไม่มีการปรับเปลี่ยนในระหว่างที่ทำการสื่อสารอยู่  หากจะปรับเปลี่ยนจะทำภายหลังการสื่อสาร  เป็นการสื่อสารที่ไม่คาดหมายปฏิกริยาโต้ตอบ  โดยเฉพาะปฎิกริยาโต้ตอบในทันทีทันใด แบบที่เกิดขึ้นกับการสื่อสารระหว่างบุคคล  เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย  อีกสิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจนคือ การสื่อสารมวลชน  ไม่สามารถควบคุมผู้รับสารได้  เนื่องจากสาเหตุหลายประการ เช่น

                   1.  ไม่สามารถรับรู้ลักษณะที่แน่นอนของผู้รับสารว่า เป็นใคร มีความสนใจแบบไหน มีความรู้ หรือมีการศึกษาระดับใด  มีจำนวนผู้รับสารเท่าใด  ดังนั้นการเตรียมสารเพื่อส่งออก  จึงอาจไม่มีความเหมาะสม แตกต่างจากการสื่อสารแบบกลุ่มใหญ่  ที่ผู้รับสารปรากฏตัวให้เห็นว่าเป็นใครบ้าง และหัวข้อที่ส่งสารก็เป็นที่สนใจของผู้รับสารอยู่แล้ว ซึ่งได้มารวมตัวกันเพื่อรับสาร  แต่การสื่อสารมวลชนนั้น  ความสนใจของผู้รับสารอาจมีความแตกต่างกันมาก  โอกาสจะส่งสารที่ไม่เหมาะสมแก่ผู้รับสารจึงมีความเป็นไปได้สูง
         
                   2.  บรรยากาศของการรับสารของผู้รับสารแตกต่างกัน  ดังนั้น โอกาสที่จะรับสารได้ความหมาย หรือได้คุณภาพเหมือนกันจึงมีโอกาสเป็นไปได้น้อย  แตกต่างจากการรับสารของการสื่อสารกลุ่มใหญ่ที่ทุกคนอยู่ในบรรยากาศเดียวกัน     การสร้างอารมณ์ร่วมให้เกิดขึ้นจึงง่ายกว่าการกระจายกันอยู่    เพราะโดยธรรมชาติของมนุษย์แล้ว สามารถถ่ายทอดความรู้สึกซึ่งกันและกันได้

                   3.  ความแตกต่างกัน  ในอุปกรณ์ที่ใช้ในการสื่อสาร  อาจทำให้คุณภาพในการสื่อสารเพิ่มขึ้น  หรือลดลงก็ได้

                   การสื่อสารมวลชนมีข้อจำกัดหลายประการ ดังตัวอย่างที่ยกให้เห็น ซึ่งเป็นการสื่อสารที่ไม่ได้มุ่งที่คุณภาพ    แต่มุ่งไปที่ปริมาณ  มุ่งจะขยายอาณาเขตการรับรู้มากกว่าที่จะหวังผลสัมฤทธิ์เต็มที่   เป็นสิ่งที่ผู้สื่อสารต้องเข้าใจถึงลักษณะของการสื่อสารแต่ละประเภท เพื่อจะได้ใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่


ตอนที่ 3  องค์ประกอบที่ทำให้การสื่อสารประสบผลสำเร็จ

                   องค์ประกอบของการสื่อสารของมนุษย์  มีลักษณะที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบของการสื่อสารของมนุษย์ อย่างที่กล่าวมาตอนแรกว่า  การสื่อสารของมนุษย์เกิดขึ้นจากการที่มนุษย์คิดวิธีการสื่อสารขึ้นมา  ดังนั้นการศึกษาเรื่ององค์ประกอบในการสื่อสารจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะทำให้การสื่อสารประสบความสำเร็จ  องค์ประกอบที่ง่ายที่สุดในการสื่อสารของมนุษย์เมื่อมีการสื่อสารเกิดขึ้น  ประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ประการ คือ

1.    ผู้ส่งสาร
2.    สาร
3.    ผู้รับสาร

การเริ่มต้นของการสื่อสารของมนุษย์จะเริ่มด้วยความปรารถนาของผู้ส่งสาร  ที่ต้องการจะส่ง
ข้อมูลนี้ไปยังบุคคลอื่น    ข้อมูลนี้อาจเป็นสิ่งที่มีอยู่ในตัวของเขาเองแต่เดิม    หรืออาจเป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นในขณะนั้นก็ได้ นั่นก็คือ  สารที่มีอยู่ในตัวของเขานั่นเอง  แต่สิ่งที่เกิดขึ้นนี้เป็นเพียงแค่ความคิดที่มีอยู่ในตัวของเขาเท่านั้น  แต่หากจะถูกส่งต่อออกไปเพื่อให้เกิดความเข้าใจแล้ว  จำเป็นต้องมีการแปรความคิดเหล่านั้นออกเป็นสัญญาณ เช่น เสียง ภาพ หรือสิ่งอื่นๆ  เพื่อให้เกิดความเข้าใจได้  ซึ่งจะสามารถสื่อข้อมูลที่มีอยู่  ทั้งนี้โดยผ่านทางช่องทางต่างๆ ที่เรียกว่า ประสาทสัมผัสทั้ง 5

                   ประสาทสัมผัสทั้ง 5  คือ การมองเห็น  การได้ยิน  การได้กลิ่น  การรู้รส และการสัมผัส จากนั้นผู้รับสารก็จะได้รับสัญญาณที่ผู้ส่งสารส่งมา  แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าการสื่อสารครั้งนี้จะได้ผลตามที่ผู้ส่งสารต้องการ  เนื่องจากผู้รับสารอาจจะไม่เข้าใจสารที่ได้รับมา  ตามจุดประสงค์ของผู้ส่งสารก็ได้ เนื่องจากสิ่งที่เขามีอยู่ในตัวเองคือ  ประสบการณ์ หรือภูมิหลังของเขา  จะเป็นตัวแปลความหมายของสัญญาณที่เขาได้รับ เช่นเดียวกับที่ผู้ส่งสารเองก็มีประสบการณ์และภูมิหลังอยู่ประจำตัวของเขาเช่นเดียวกัน  ดังนั้น ในการสื่อสารระหว่างบุคคลแล้วโอกาสที่คน 2 คน  จะเข้าใจสิ่งต่างๆ  ได้ตามความต้องการของแต่ละฝ่ายนั้น  ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ หลายประการ  นั่นก็คือ

1.    จุดประสงค์ของผู้ส่งสาร
2.    สัญญาณที่ใช้ในการแปรสารของผู้ส่งสาร
3.    ประสบการณ์ของผู้ส่งสาร
4.    ช่องทางในการสื่อสาร
5.    การแปลสารของผู้รับสารก่อนที่จะแปรเป็นสัญญาณเข้าไปสู่ผู้รับสาร
6.    ประสบการณ์ของผู้รับสาร
7.    สภาพแวดล้อมในขณะนั้น

จากองค์ประกอบที่เราเห็นนี้      เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในการสื่อสารระหว่างบุคคล     โอกาสที่จะเกิด
ความไม่เข้าใจกัน  หรือ  ความผิดพลาดต่างๆ   สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา     เช่น   เรื่องของประสบการณ์   ภูมิหลังของผู้ส่งสาร และของผู้รับสาร  หากมีความแตกต่างกันก็อาจทำให้การแปลความหมายแตกต่างกันได้

                   การเลือกใช้ช่องทางหรือการเลือกใช้สัญญาณ   ถ้าเกิดการผิดพลาดก็ทำให้การสื่อความหมายผิดพลาดได้  หากไม่ใช้ความระมัดระวังให้มากพอ  นอกจากนี้ยังมีเรื่องของความรู้สึก  ความอคติที่มีอยู่  หรือแม้แต่สภาพแวดล้อมก็มีบทบาทสำคัญในการสร้างความหมายผิดพลาดได้เช่นเดียวกัน     เช่นคนที่รู้สึกไม่ชอบหน้ากัน  การแปลความหายของสารก็จะแตกต่างจากคนที่ชอบพอกันอยู่  หรือในสภาพแวดล้อมอย่างหนึ่ง  เช่น  ถ้ากำลังมีความสุขเมื่อฟังเพลงเพลงหนึ่งอาจรู้สึกชอบ  แต่ถ้ากำลังมีความทุกข์  เพลงๆ เดียวกันก็อาจฟังแล้ว ได้อารมณ์ที่แตกต่างกันได้

                   การสื่อสารที่มีคุณภาพ  จะสามารถวัดประเมินผล  และสามารถพัฒนาสารต่อไปได้  มีองค์ประกอบในการสื่อสารที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่เรียกว่า   ปฏิกริยาโต้ตอบ     หรือ   Feedblack   การเกิดปฏิกริยาโต้ตอบนี้ สามารถเกิดได้ 2 ลักษณะคือ
1.    Internal Feedblack
2.    External Feedblack

1.    Internal Feedblack
เป็นปฏิกริยาโต้ตอบที่เกิดขึ้นกับผู้รับสารเมื่อได้รับสาร  แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วไม่ได้ส่งกลับ
ออกไปภายนอกให้กับผู้ส่งสาร  ปฏิกริยาโต้ตอบเช่นนี้ไม่มีผลต่อการพัฒนาการสื่อสาร  เพราะผู้ส่งสารจะไม่ทราบว่า  ผู้รับสารได้รับแล้วเข้าใจหรือไม่แต่อย่างไรก็ตามยังคงมีผลต่อความคิด  ความเข้าใจและความรู้สึกของผู้รับสาร  ถึงแม้ว่าจะไม่ได้แสดงปฏิกริยาโต้ตอบออกมาก็ตาม

2.    External Feedblack
เป็นปฏิกริยาโต้ตอบที่เกิดขึ้นกับผู้รับสารเมื่อได้รับสาร  และผู้รับสารส่งออกไปภายนอก
ให้ผู้ส่งสารได้ทราบว่า เขามีความคิด  ความเข้าใจ  หรือมีอารมณ์ความรู้สึกอย่างไร  ปฏิกริยาโต้ตอบเหล่านี้จะมีผลต่อการปรับปรุงหรือพัฒนาการสื่อสารต่อไป External Feedblack จึงเป็นสิ่งที่ควรให้เกิดขึ้น เพราะสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาการสื่อสารได้

                   จะเห็นได้ว่า ถึงแม้ว่า Internal Feedblack จะเป็นสิ่งที่ไม่ช่วยในการพัฒนาการสื่อสาร  และไม่ควรจะเกิดขึ้นในการสื่อสารก็ตาม  ในบางครั้งในบางสถานการณ์  การใช้  Internal Feedblack อาจจะมีความเหมาะสมการใช้พัฒนาการสื่อสาร   External Feedblack ก็ได้   เพราะอาจให้ผลในทางลบมากกว่าทางบวก  อย่างไรก็ตาม การส่ง Feedblack กลับมายังผู้ส่งสารก็จำเป็นต้องใช้ทักษะในการสื่อสาร เพื่อให้การสื่อสารบรรลุเป้าหมายที่เราต้องการ  เพราะหากไม่มีการฝึกฝน  การเรียนรู้  การส่ง Feedblack ที่เหมาะสมกลับมา  ผลเสียอาจเกิดขึ้น  และอาจมีผลกระทบต่อการสื่อสารได้เป็นอย่างมาก

                   การเกิด Feedblack ที่มีลักษณะเป็น External Feedblack นอกจากจะทำให้ผู้ส่งสารได้นำไปใช้ในการพัฒนาสารแล้ว  ยังเป็นสิ่งเร้าให้กระบวนการสื่อสารดำเนินต่อไป  หรือหยุดชะงักลงก็ได้  การเกิด Feedblack ที่มีผลต่อการเร้าให้กระบวนการสื่อสารดำเนินต่อไป  หรือหยุดชะงักลง  มีอยู่ 2 ลักษณะ คือ

1.    Positive Feedblack
เป็นปฏิกริยาโต้ตอบในทางบวก เห็นด้วย  สนับสนุน  ยอมรับเมื่อผู้ส่งสารได้รับปฏิกริยานี้
จะเกิดความรู้สึกอยากจะทำการสื่อสารต่อไป



2.    Negative Feedblack
เป็นปฏิกริยาโต้ตอบในทางลบ ไม่เห็นด้วย คัดค้านปฏิเสธเมื่อผู้ส่งสารได้รับปฏิกริยานี้ จะ
เกิดความรู้สึกไม่อยากจะทำการสื่อสารต่อไป

                   เมื่อพิจารณาดูแล้ว  จะเห็นว่า  ผู้ส่งสารจะเป็นผู้กำหนดสารช่องทางในการสื่อสาร  เพื่อไปกำหนดความหมายให้แก่ผู้รับสารก็ตาม     แต่ผู้รับสารเองก็มีอิทธิพลต่อผู้ส่งสาร   และกระบวนการสื่อสารอยู่ไม่น้อย  เพราะปฏิกริยาโต้ตอบที่เกิดขึ้นจากผู้รับสาร  ก็สามารถจะไปกำหนดผลในการสื่อสารได้เช่นเดียวกัน

                   ดังนั้นสำหรับการสื่อสารของมนุษย์แล้ว   ความสามารถและประสิทธิภาพของผู้ส่งสาร    และผู้รับสารต่างก็มีความสำคัญเท่าเทียมกัน    หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งคุณภาพไม่เท่าเทียมแล้ว    โอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดในการสื่อสารก็จะเกิดขึ้นได้เสมอ

                   การสื่อสารของมนุษย์ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงการเรียนรู้ และพัฒนาทักษะได้เลย  เพราะการสื่อสารของมนุษย์มีความซับซ้อน  และยังสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา  ไม่สามารถกำหนดผลที่แน่นอนได้ แต่หากได้มีการเตรียมการไว้เป็นอย่างดี  ก็สามารถที่จะคาดหมายได้ล่วงหน้าว่า  จะเกิดผลอย่างใดขึ้น จะยังสามารถจะปรับเปลี่ยนได้เกิดความเหมาะสม  และเกิดประสิทธิภาพได้มากขึ้นอีกด้วย  แต่ถ้าหากไม่มีการเรียนรู้ ฝึกฝนและพัฒนาทักษะแล้ว  โอกาสที่จะเกิดความล้มเหลวในการสื่อสารก็อาจเกิดขึ้นได้


ตอนที่ 4  วัจนภาษาและอวัจนภาษา

                   วิธีการสื่อสารของมนุษย์ที่ใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน คือ การสื่อสารทางวัจนภาษา (Verbal) และการสื่อสารทางอวัจนภาษา (Nonverbal)  วัจนภาษา  หมายถึง  ภาษาเสียง ได้แก่ ภาษาพูด  และภาษาเขียน  อวัจนภาษา ได้แก่  ภาษาที่ไม่ออกเสียง  แต่สามารถสื่อสารความหมายได้  ได้แก่  สีหน้า  ท่าทาง  สายตา  การวางท่า  ระยะห่าง  และน้ำเสียง  นอกจากนั้นก็อาจจะมีเรื่องราวของวัฒนธรรม  เวลาหรือภาษาที่ไม่ออกเสียงแต่สามารถสื่อความหมายได้

                   การสื่อสารของมนุษย์มีความจำเป็นต้องคำนึงถึงภาษาทั้ง 2 ด้วย เพราะหากไม่ให้ความสนใจในอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็อาจจะเกิดความผิดพลาดหรือล้มเหลวได้โดยเฉพาะการสื่อสารแบบเผชิญหน้า ที่จำต้องมีการใช้ภาษาทั้ง 2 นี้ควบคู่กันไป  เพื่อช่วยให้เกิดความหมายชัดเจนขึ้น  การเลือกใช้วัจนภาษาจะเลือกใช้เมื่อสื่อความหมายที่ชัดเจน  และเกิดความรวดเร็ว  ส่วนใหญ่จะใช้ในการให้รายละเอียดขึ้อมูลจะได้ผลดี

          ในขณะที่ใช้อวัจนภาษาจะใช้เมื่อแทนความรู้สึก       จะให้ผลดีกว่าการให้รายละเอียดข้อมูล  ดังนั้นการเลือกภาษาต่างๆ     ของมนุษย์   จึงเป็นทักษะที่ต้องเรียนรู้แลฝึกหัดที่ใช้ในการสื่อสารให้มีคุณภาพสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ในการสื่อสารแต่ละครั้ง

          นอกจากนั้น  ในด้านวัจนภาษาเองก็มีความแตกต่างกันในระหว่างการพูดและการเขียน ในที่นี้จะหมายความถึงการพูดที่ผู้ส่งสาร และผู้รับสารสามารถเผชิญหน้ากันได้ในกรณีนี้การพูดนอกจากจะสามารถใช้อวัจนภาษามาช่วยส่งเสริมให้เกิดความหมายที่ชัดเจนแล้ว ยังสามารถปรับเปลี่ยนไปตามผู้รับสารเพื่อให้เกิดความเหมาะสม และยังสามารถเปลี่ยนได้เมื่อเขียนอะไรออกไปแล้ว ก็จะไปตามสภาพแวดล้อมอีกด้วย  เมื่อเขียนอะไรออกไปแล้ว ก็จะเป็นไปตามนั้นสามารถเปลี่ยนแปลงได้  แต่ภาษาของมนุษย์ที่สร้างขึ้นมานั้น ย่อมมีคุณสมบัติเด่น และคุณสมบัติด้อยเช่นที่กล่าวมาแล้ว

          ภาษาเขียนก็เช่นเดียวกัน  ถึงแม้ว่าจะมีคุณสมบัติด้วยเช่นที่กล่าวมาแล้ว แต่ภาษาเขียนก็มักจะมีคุณสมบัติเด่น ในการใช้ภาษาเพื่อยืนยันข้อมูลหรือใช้เป็นภาษาทางการมากกว่าภาษาพูด  เช่น การตกลงสัญญาต่างๆ ต้องการบันทึกหลักฐานไว้เป็นภาษาเขียนจึงจะถูกต้องสมบูรณ์  นำมาใช้ในการพิสูจน์ยืนยันหลักฐานได้  ดังนั้นหากข้อตกลงใดมีความสำคัญก็มักจะต้องบันทึกไว้เป็นภาษาเขียน เช่น การเจรจาทางการค้า หรือ ทางการเมือง  หรือข้อความที่เกี่ยวข้องกับกฎระเบียบต่างๆ ต้องมีการลงบันทึกยืนยันเป็นหลักฐานโดยการเขียน ไม่ใช่โดยภาษาพูด  นอกจากนั้น

          ลักษณะพิเศษอีกอย่างหนึ่งของภาษาเขียนคือ  สามารถข้ามกาลเวลาได้ ทำให้มีความคงทนมากกว่าการสื่อสารโดยวิธีการอื่น  เช่น  การเล่าเรื่องนิทาน  หากมีการบันทึกไว้ ก็จะสามารถไปได้ชั่วลูกชั่วหลาน  โดยการเข้าใจความหมายมีความคล้ายคลึงกัน    เรื่องราวต่างๆ    หากถูกถ่ายทอดโดยภาษาพูดแล้วโอกาสที่จะบิดเบือนผิดเพี้ยนไปก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้สูงมาก  หรือ การบันทึกประวัติศาสตร์ โดยภาษาเขียนก็จะมีความยืนยงสามารถถ่ายทอดเป็นภาษาต่างๆ ได้อย่างถูกต้องมากขึ้น  ที่ก็คือคุณสมบัติพิเศษของภาษาเขียนที่มีแตกต่างจากภาษาพูด

          อวัจนภาษาเป็นภาษาอีกอย่างหนึ่ง ที่มนุษย์ใช้ในการสื่อความหมายและสามารถใช้ได้ตามลำพัง  หรือใช้ควบคู่ไปกับวัจนภาษาด้วยก็ได้  เป็นภาษาที่มีความสำคัญมาก การสื่อสารผ่านทางอวัจนภาษานี้ส่วนใหญ่จะสื่อแทนอารมณ์ความรู้สึก หากจะสื่อสารแทนความหมาย โอกาสที่จะเกิดความเข้าใจที่แตกต่างกันในด้านความหมายก็เกิดขึ้นได้ง่าย  เพราะการสื่อสารทางอวัจนภาษามักจะมีความหมายที่ไม่ชัดเจน ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และภูมิหลังของคนแต่ละคนที่แตกต่างกัน

          ที่น่าสนใจ คือ  หากการสื่อสารผ่านทางวัจนภาษาเป็นไปในทิศทางเดียวกับอวัจนภาษา จะช่วยให้การสื่อสารมีความชัดเจนมีประสิทธิภาพสูงขึ้น แต่หากเกิดการขัดกันในระหว่างภาษาวัจนภาษาและอวัจนภาษาแล้ว  จะเกิดความสับสนทางความเข้าใจความหมายและมีแนวโน้มที่จะเชื่อถืออวัจนภาษามากกว่าวัจนภาษา ซึ่งนั่นก็หมายความว่า  โอกาสที่จะเกิดความเข้าใจผิดก็สูงมากขึ้นตามไปด้วย

          ดังนั้น ความสามารถในการสื่อสารของมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นในด้านของผู้ส่งสารของผู้รับสารก็มีความจำเป็นต้องมีประสบการณ์  มีทักษะในการฝึกฝน  และมีความระมัดระวังการสื่อความหมายของตนเอง  เพื่อให้บรรลุตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ การที่สื่อสารโดยไม่ใช้ความระมัดระวัง หรือไม่ฝึกฝนทักษะในการสื่อสารอาจทำให้ไม่อาจบรรลุตามจุดประสงค์ที่ตั้งเอาไว้  และในบ้างครั้งอาจก่อให้เกิดอันตรายจากการสื่อสารนั้นๆ ด้วย

ตอนที่ 5  การใช้ภาษาตามจุดประสงค์

                   การใช้ภาษาของมนุษย์มักจะเกิดขึ้นตามวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไป    การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารธุรกิจ    ก็เป็นอีกรูปแบบของการสื่อสารของมนุษย์ที่มีจุดประสงค์แน่นอน  เพื่อการแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้าหรือบริการของตน  โดยคำนึงถึงผลกำไรและขาดทุนเป็นหลัก  ไม่ได้เป็นการเจรจาเพื่อหวังผลอย่างอื่นไม่ว่าจะเป็นในฐานะเพื่อนฝูง  ความเสน่หาหรือกิจการอื่น   จุดมุ่งหมายสำคัญมีอย่างเดียวคือ     เพื่อผลทางธุรกิจเท่านั้น

                   ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นการใช้วิธีการเจรจาแบบเพื่อนฝูง  ญาติพี่น้อง หรือ สถานะอื่น  ก็มีความประสงค์อย่างเดียวเท่านั้นคือผลทางธุรกิจ  ซึ่งจะต้องมีเรื่องของผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ได้คำนึงถึงความไพเราะ  ความงดงามของภาษา  หรืออารมณ์ของความรู้สึกอื่นใด  หากจะมีเกิดขึ้นก็เมื่อผลประโยชน์เกิดขึ้นเพื่อธุรกิจเท่านั้น

                   ในการเจรจาเพื่อธุรกิจนั้นมีลักษณะที่เด่นชัดอย่างหนึ่งคือ แต่ละฝ่ายไม่ว่าจะเป็นผู้รับสารหรือผู้ส่งสาร   ต่างก็มีจุดมุ่งหมายที่จะให้ตนเองได้ผลประโยชน์ของตนเองมากกว่าของผู้อื่น   ดังนั้นหากการเจรจา ปรากฏว่ามีฝ่ายใดได้ประโยชน์มากกว่าอีกฝ่ายหนึ่งเกินไป  หรืออีกฝ่ายไม่ได้ประโยชน์ใดเลย  การสื่อสารนี้ก็อาจจะไม่ประสบความสำเร็จ  หรือถ้าเกิดขึ้นจริงก็ย่อมจะเกิดความไม่พอใจในผลของการสื่อสารนี้อย่างแน่นอน แต่หากว่าการสื่อสารนี้เกิดผลประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่ายอย่างเท่าเทียมกัน การสื่อสารก็จะเป็นความพอใจของทั้งสองฝ่ายในการที่มีผลออกมาเป็นเช่นนี้

                   อย่างไรก็ตามการสื่อสารทางธุรกิจ  แต่ละฝ่ายก็ต่างหวังให้ตนเองได้ประโยชน์สูงสุดทั้งสิ้น ซึ่งโอกาสเป็นไปได้ยากที่จะให้เกิดความเท่าเทียมกันในผลประโยชน์ที่จะได้รับ  เราจะเห็นว่าถ้าเป็นการสื่อสารที่ต่างฝ่ายต่างได้ผลประโยชน์เท่าเทียมกันแล้ว  คุณภาพของการสื่อสารบรรยากาศของความเป็นมิตรจะเกิดขึ้นมากกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์  ดังนั้นหากเราต้องการจะรักษาสัมพันธภาพไว้ให้ยาวนาน  ความระมัดระวังในการสร้างข้อมูลเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันจะมีความสำคัญอย่างยิ่ง

                   รูปแบบในการสื่อสารทางธุรกิจเพื่อให้ประสบผลสำเร็จนั้นไม่ใช่มีแค่การเลือกใช้คำพูดเท่านั้น  แต่ยังมีองค์ประกอบอื่นๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง  เช่น  สถานที่  บรรยากาศ  สถานการณ์ ฯลฯ  สิ่งเหล่านี้จำเป็นต้องคำนึงถึงให้มากด้วย  เพราะการที่คนเราจะเสียผลประโยชน์หรือได้ผลประโยชน์มักจะเกิดความรู้สึกที่มากกว่าการพูดคุยกันตามปกติในเรื่องทั่วไป

                   นักธุรกิจถึงมักจะคำนึงถึงสถานที่หรือบรรยากาศในการเจรจาแต่ละครั้ง เช่น การใช้ สนามกอล์ฟเป็น Background ในทางเจรจามากกว่าในงานเลี้ยงสังสรรค์เพราะคนจะมีความผ่อนคลายมากกว่า การยอมรับหรือการมองเห็นสูงกว่า  เช่น  ก็สามารถมองเห็นได้ชัดเจนถึงความสำคัญของวัจนะภาษาที่จึงถือว่าเป็นด่านแรกกับ อวัจนะภาษาต้องทำให้ประสบผลสำเร็จ

                   อวัจนะเป็นส่วนประกอบสำคัญในการใช้วัจนะภาษาเพื่อการสื่อสารทางอวัจนะขึ้นอยู่กับรูปแบบหลายอย่าง  ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะ การพูด  จึงถือว่าเป็นด่านแรกที่จะทำให้คนเกิดความประทับใจ คำกล่าวที่ว่า  ความรู้สึกที่เรามี  และผู้อื่นมีต่อเรา เมื่อพบหน้ากันหนแรก ส่วนมากขึ้นอยู่กับ 3 ปัจจัย  คือ การพูด  ท่าทาง  และเสื้อผ้าที่เราสวมใส่  สามอย่างนี้จะทำให้คนเราเกิดทัศนคติต่อกันได้ ไม่ว่าจะในทางที่ดีหรือไม่ดี  การเจรจาซึ่งต้องให้ความระมัดระวังอย่างยิ่งซึ่งการที่จะประสบความสำเร็จเช่นนี้ได้  ไม่ได้เกิดขึ้นโดยบังเอิญ  แต่คิดขึ้นจากการที่ได้มีการเตรียมการเหล่านี้เป็นอย่างดี

                   การสื่อสารเป็นทักษะที่สามารถฝึกหัดได้โดยเฉพาะในการเจรจาเพื่อให้อีกฝ่ายเกิดความพึงพอใจได้  อยากทำการสื่อสารกับเรา รู้สึกผ่อนคลายไม่ได้เคร่งเครียด ความรู้สึกเป็นมิตรก็จะเกิดขึ้น วิธีการสื่อสารมีได้หลายลักษณะ  เพื่อนำไปเลือกใช้  เช่น  การเริ่มต้นสนทนา  โดยพูดเสียงที่อีกฝ่ายหนึ่งสนใจ  เป็นการเริ่มต้นที่ดีๆ ที่สุด

                   การใช้วิธีการเจรจาก็อาจมีรูปแบบที่มุ่งไปผู้รับสารให้มี ความสำคัญมากขึ้น  เช่น  แทนที่จะถามว่า เข้าใจไหม  ซึ่งมุ่งความสำคัญมาที่ผู้ส่งสาร  ก็ควรเปลี่ยนเป็นมุ่งความสำคัญไปที่ผู้รับสาร คือ ไม่ค่อยแน่ใจว่าจะเข้าใจเรื่องที่พูดหรือเปล่า  คนที่ไม่เข้าใจจะได้กล้าถามมากกว่า  ก่อนที่จะพูดกับใครควรคิดให้ดีก่อน ควรมองให้เห็นภาพรวมและนำเสนอเพื่อให้ผู้รับสารเข้าใจเรื่องราวต่างๆ การพูดก็จะง่ายขึ้น

                   การมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับคนอื่นๆ เป็นคุณสมบัติที่พิเศษที่สุดในการทำงาน  เพราะคนพวกนี้จะสามารถปรับตัวกับบุคคลอื่นได้ดีมีคุณค่าในการทำงานมากกว่าคนที่ไม่สามารถเข้ากับใครได้  เพราะจะทำงานร่วมกันคนอื่นมาก
ตอนที่ 6  ผลลัพธ์ในการสื่อสารของมนุษย์

                   การสื่อสารเป็นสิ่งที่ต้องใช้ความระมัดระวังมาก เพราะมีโอกาสที่จะเข้าใจผิดได้ง่าย เนื่องจากเป็นกิจกรรมร่วมระหว่างผู้รับสารและผู้ส่งสาร ต้องเป็นความรับผิดชอบของคนทั้ง 2 ฝ่าย หากฝ่ายใดไม่มีความรับผิดชอบโอกาสจะเกิดความผิดพลาดก็มีได้

                   อย่างไรก็ตามกระบวนการสื่อสารจำเป็นต้องมีวิธีและกระบวนการที่พิจารณาอย่างละเอียด การสื่อสารไม่ใช่แค่การระบายความคิดที่เรามีอยู่เท่านั้น เพราะไม่ใช่แค่การถ่ายทอดเหมือนการถ่ายทอดดนตรี ไม่มีการคำนึงถึงการรับรู้ของผู้รับสาร  ถ้าเป็นการสื่อสารแล้วจะต้องมีการรับรู้ของผู้รับสารเกิดขึ้นด้วย  ไม่ใช่การส่งออกจากผู้ส่งสารอย่างเดียว  การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพที่สุด คือ การสื่อสารที่สอดคล้องและเชื่อมโยงกับกระบวนการการรับสารของผู้รับสาร

                   การปรับปรุงทักษะการสื่อสารของตนเองถือเป็นขั้นตอนแรกของการพัฒนาประสิทธิภาพในกระบวนการสื่อสาร  นั่นคือต้องมีการปรับปรุงความสามารถในการฟัง  การสังเกต  การอ่านและการมองก่อนที่จะไปปรับปรุง การพูดหรือการเขียน

                   จะเห็นว่า  การพัฒนาทักษะนั้นต้องเริ่มจากการเป็นผู้รับสารที่ดีก่อน จึงเข้าก้าวไปสู่การเป็นผู้ส่งสารผ่านทางวัจนภาษา       การเข้าใจกระบวนการสื่อสารให้ดีจะเข้าใจได้ถึงความซับซ้อนของกระบวนการสื่อสาร แต่ถ้าเราใช้เวลานานขึ้นในการศึกษาและปรับปรุงทักษะในการสื่อสารเราก็จะเข้าใจและสามารถควบคุมได้  เหมือนกับลมหายใจเข้าออกของเราที่มีติดตัวเราอยู่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้  แต่หากเรารู้จักวิธีการควบคุมเราก็จะได้ประโยชน์จากการหายใจเช่นเดียวกับ ได้ประโยชน์จากการสื่อสารเช่นเดียวกัน  เพียงแต่เราต้องเรียนรู้วิธีการที่เหมาะสมเท่านั้น

                   เราต้องยอมรับว่า  การสื่อสารเป็นคุณสมบัติที่ทุกคนต้องมีเหมือนกับลมหายใจ  เป็นสิ่งที่ต้องฝึกฝนและเสริมสร้างเพื่อความอยู่รอด  เป็นทักษะในการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันของมนุษย์  ความสัมพันธ์อันดีจะนำไปสู่คุณภาพในการทำงานด้วย  ความสำเร็จในการสื่อสารจะเกิดขึ้นได้บ่อยครั้งแต่ไหนจะแตกต่างกันไปตามทักษะของบุคคลนั้น  แต่โดยทั่วไปแล้วความสำเร็จในการสื่อสารจะมีน้อยกว่าที่เราคิดหรือสรุปเอาเอง  ทั้งนี้เพราะความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ตลอดการสื่อสาร

                   การสื่อสารด้วยคำพูดตัวต่อตัวมีโอกาสที่จะเข้าใจกันได้ง่ายที่สุด  เพราะคนมีโอกาสได้เห็นหน้ากันเมื่อไม่เข้าใจก็สามารถซักถามสามารถจะเรียนรู้ร่วมกันได้  การรับสารที่ถูกต้องตรวจสอบเรื่องราวต่างๆ  จนติดเป็นนิสัยเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อลดความผิดพลาดของการสื่อสาร  คนส่วนใหญ่มักจะขาดความอดทนที่จะทบทวนข้อมูลที่ส่งออกไป  รวมั้งในบางครั้งก็มีความภาคภูมิใจในความสำเร็จของตนเองจนลืมสำรวจความเข้าใจของคนอื่น ไม่สนในการปรับปรุงตนเอง เหล่านี้จะเป็นจุดอ่อนของคนส่วนใหญ่

                   ในความจริงแล้วเมื่อผู้รับสารได้ยินเรื่องเดียวกันกับที่ผู้ส่งสารส่งออกไป นั่นหมายความว่ากระบวนการสื่อสารได้เกิดขึ้น   แต่หากจะทำให้การสื่อสารสมบูรณ์ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ผู้รับสารได้ยินเรื่องเดียวกับที่ผู้ส่งสารส่งออกไปเท่านั้น  แต่ผู้รับสารต้องเข้าใจเนื้อหาสาระที่ผู้ส่งสารมีวัตถุประสงค์ด้วย  ถ้าหากเราสามารถแยกทั้งสองสิ่งนี้ออกจากกันได้ก็สามารถลดความล้มเหลวในการสื่อสารได้  นั่นก็คือการส่งสารจะถูกตีความสองครั้ง  ครั้งแรกโดยผู้ส่งสาร  ครั้งที่สองโดยผู้รับสาร  ดังนั้นการตีความสองครั้งนี้อาจจะมีความหมายแตกต่างกันก็ได้

                   ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการล้มเหลวในการสื่อสาร  อาจก่อให้เกิดผลร้ายอย่างคาดไม่ถึง  อาจกระทบกระเทือนความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลต่างๆ  ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารในกรณีนี้ผู้ส่งสารต้องระมัดระวังไม่ยึดติดอยู่กับความหมายแรกของตนซึ่งอาจไม่เหมือนคนอื่น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณภาพในการสื่อสารของตนเองด้วย

                   การเรียนรู้ว่าอาจมีช่องว่างในการสื่อสารดังนี้ จะช่วยลดความเข้าใจผิดในการสื่อสารลงได้  ถ้าผู้ส่งสารอุดช่องว่าง  พยายามรับฟัง  ตอบสนอง  เอาใจใส่  และพยายามเข้าใจกันมากขึ้น  ความสำเร็จในการสื่อสารจะมีเพิ่มมากขึ้นด้วย  การสื่อสารเป็นเรื่องของทักษะ เกิดจากการฝึกฝนยิ่งฝึกฝนยิ่งเรียนรู้ด้วยตนเอง  พยายามสังเกตปรับปรุงในไม่ช้าก็จะกลายเป็นทักษะ  มีความชำนาญ สามารถทำได้รวดเร็วเป็นที่ช่วยให้ประสบความสำเร็จในการสื่อสารอย่างแน่นอน

                   การสื่อสารในการทำงานมีกฎเกณฑ์ อย่างนี้คือ การสื่อสารไม่ได้ทำเพื่อความสนุกสนาน แต่ทำเพื่อให้งานทุกอย่างสำเร็จเข้าใจว่าด้วยสื่อแต่ละประเภทที่มีความแตกต่างกัน หากคนเราได้มีโอกาสพบปะพูดคุยกันย่อยๆ  โอกาสเกิดความเข้าใจระหว่างกันมีมากขึ้น  โดยเป็นการพูดแบบซึ่งทำให้เห็นเกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน การสื่อสารบางครั้งก็ไม่จำเป็นต้องวางแผน หากเกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่ไม่ได้หมายความว่าเกิดขึ้นโดยบังเอิญ การสื่อสารที่เกิดจาก ทักษะความรู้  ความเคยชิน  เป็นการสื่อสารที่เกิดการประสบการณ์ ในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง    ผู้สื่อสารต้องเรียนรู้ถึงข้อมูลในการสื่อสาร    เช่นในการใช้ภาษาในการสร้างผลกระทบ 10 % เป็นเสียง 40%  และภาษาภาย 50%  การเลือกใช้ภาษาใดในการสื่อสารจะเป็นทักษาะที่ผู้สื่อสารควรเลือกใช้ให้เหมาะสม


สรุป

                  จากที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดจะเห็นว่าการสื่อสารของมนุษย์มีกระบวนการที่ต้องเรียนรู้และฝึกหัดการใช้งานตลอดเวลา และหากคนเรามีความสามารถในการสื่อสารแล้วนั่นก็หมายความว่า  เขาสามารถนำสิ่งที่เขามีความชำนาญนี้ไปปรับปรุงใช้กับการสื่อสารได้ทุกประเภท  ตามจุดประสงค์ที่เขาต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                    การบอกลักษณะการสื่อสารลงไปแล้วว่า ควรจะใช้วิธีการใดกับการสื่อสารของมนุษย์  จึงดูจะเป็นการจำกัดความสามารถของมนุษย์  และอาจจะเกิดความผิดพลาดได้  ทั้งนี้เพราะการสื่อสารของมนุษย์ เป็นสิ่งที่ไม่ตายตัว แต่ต้องปรับเปลี่ยนไปตามสภาพต่างๆ ให้เหมาะสม  และเป็นทักษะของแต่ละคนที่จะต้องเลือกให้ข้อมูลและวิธีการให้เหมาะสมทั้งกับตัวของเขาเอง กับสภาพแวดล้อม และกับตัวผู้รับสารเองในท้ายที่สุดด้วย